บริษัท เอ็นไวรอนเมนท์ รีเสริช แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด ให้บริการ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เรามุ่งเน้น การเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ภายใต้การดำเนินงานโดยบุคลากรที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญสูง

รายการบริการ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย (Workplace)

ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด และวิเคราะห์ตามวิธีของสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH), สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA และสมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Conference of Governmental Industrial Hygienists : ACGIH) เปรียบเทียบค่ามาตรฐานกำหนดตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2560

การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง (Workplace)

ดำเนินการตรวจวัดตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตามกฎกระทรวงแรงงาน พ.ศ.2559 เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

การตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality)

ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด และวิเคราะห์ตามวิธีของสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH), สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA และสมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Conference of Governmental Industrial Hygienists : ACGIH) เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตาม Code of Practice for Indoor Air Quality for Air-Conditioned Buildings (2016). Institute of Environmental Epidemiology, Ministry of the Environment Singapore

การจัดทำผังแสดงเส้นระดับเสียง (Noise Contour Map)

ดำเนินการศึกษาจัดทำผังแสดงระดับเสียง ด้วยเครื่องมือวัดระดับความดัง Integrating Sound Level Meter ซึ่งได้รับการปรับความถูกต้องพร้อมทั้งมีเอกสารรับรองผลการสอบเทียบ (Certificate of Calibration) ทำให้ทราบข้อมูลระดับเสียง ณ บริเวณต่างๆ ภายในพื้นที่ที่กำหนด โดยแสดงผลในรูปแบบของ Noise Contour แบบเส้น (Line), แบบระบายสี (Fill) และแบบตัวเลขระดับเสียง (Plot) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

การตรวจวัดปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน และอากาศเสียจากเตาเผา (Stack Emission Monitoring)

ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด และวิเคราะห์ตามวิธีขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (United States environmental Protection Agency : U.S. EPA) เปรียบเทียบค่ามาตรฐานตามประกาศของหน่วยงานอนุญาตของแต่ละประเภทกิจการ อาทิเช่น ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549, ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้าใหม่ พ.ศ.2553, ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ. 2549 เป็นต้น

การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring Report)

ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด และวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring Report) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งผู้ดำเนินการ หรือผู้ขออนุญาตจะต้องจัดทำเมื่อได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจการแล้ว พ.ศ.2561

การตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป (Ambient Air)

ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด และวิเคราะห์ตามวิธีขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (United States environmental Protection Agency : US. EPA) และตามที่กรมควบคุมมลพิษ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เปรียบเทียบค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป

การตรวจวัดระดับเสียง และระดับเสียงรบกวน (Noise and Annoyance Noise)

ดำเนินการตรวจวัดตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงการรบกวน ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และระดับเสียงสูงสุด ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ.2553 เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าระดับเสียงการรบกวนและระดับเสียงที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานพ.ศ.2548 และดำเนินการตรวจวัดตามประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน พ.ศ.2550 เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ.2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน

การตรวจวัดความสั่นสะเทือน (Vibration)

ดำเนินการตรวจวัดด้วยเครื่องวัดความสั่นสะเทือนตามมาตรฐาน DIN 45669-1 ของประเทศเยอรมัน (Deutsches Institut für Normung) หรือเครื่องวัดความสั่นสะเทือนอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่า ตามที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน พ.ศ.2548

การตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำทะเล น้ำดื่ม (Water and Wastewater)

ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด และวิเคราะห์ตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียของสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย หรือ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work Association และ Water Environment Federation ของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนด หรือตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตามประกาศของหน่วยงานควบคุมคุณภาพน้ำแต่ละประเภท เช่น ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำใต้ดิน คุณภาพน้ำผิวดิน และคุณภาพน้ำทะเล เป็นต้น

การตรวจวัดคุณภาพดิน กากตะกอน และสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Soil Sludge and Waste)

ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด วิเคราะห์ และเปรียบเทียบค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดเกณฑ์การปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน การตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน การแจ้งข้อมูลรวมทั้งการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน และรายงานเสนอมาตรการควบคุมและมาตรการลดการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดิน พ.ศ.2559, ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพดิน พ.ศ.2547 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.2548

มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง